top of page
self-esteem course cover blog page.jpg
  • ณิชารีย์ ปานช่วย

8 วิธีสร้างความมั่นใจให้คนขี้อายกล้าเข้าสังคม


เข้าสังคม

ปัญหาของคนขี้อายและเก็บตัวจะเริ่มกลายเป็นเรื่องใหญ่มากขึ้นเมื่อต้องเข้าสังคม โดยเฉพาะต้องไปในที่ไม่รู้จักใคร และต้องใช้ความพยายามในการเข้าหาคนเพื่อทำความรู้จักกับคนอื่นๆ อย่างในสัมมนาหรืองานเลี้ยงสังสรรค์


หลายคนเลยหนีปัญหาด้วยการพยายามหลบเลี่ยงไม่ยอมออกไปเจอผู้คนแปลกหน้า และไม่ยอมเข้าสังคม ยิ่งหากเคยมีประสบการณ์ที่ไม่น่าประทับใจ เมื่อครั้งที่เคยพยายามทำความรู้จักผู้คนแปลกหน้าในอดีต การเข้าสังคมก็ยิ่งกลายเป็นเรื่องยากมาก


แต่หารู้ไม่ว่า โอกาสดีๆ มิตรภาพดีๆ และสายสัมพันธ์ดีๆ มักอยู่ในที่เหล่านั้น ซึ่งไม่สายเกินที่คุณจะประสบความสำเร็จในการเข้าสังคม คุณสามารถพัฒนาความมั่นใจในการเข้าสังคมได้ โดยทำตามขั้นตอนง่าย ๆ ได้ดังนี้ 1. ฝึก ฝึก ฝึก

การฝึกฝนทักษะทางสังคม คุณจะต้องลงทุนเวลาให้กับมัน การฝึกปฏิบัตินั้นจะทำให้ความมั่นใจทางสังคมของคุณเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จำไว้ว่า ‘Practice make perfect’ การฝึกฝนจะทำให้คุณสมบูรณ์แบบ คุณสามารถหาโอกาสในการฝึกได้มากมายจากการพาตัวเองเข้าไปอยู่ท่ามกลางผู้คน แค่นี้คุณก็มีโอกาสมหาศาลในการฝึกสังเกตผู้คนและฝึกการเข้าสังคม

หยุดปฏิเสธคำเชิญเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม และเปิดโอกาสให้ตัวเองซะบ้าง แล้วคุณจะเก่งเรื่องการสร้างมนุษยสัมพันธ์กับคนอื่นขึ้นเรื่อย ๆ 2. คิดในแง่บวก

คนที่รู้สึกไม่มั่นใจในตัวเองเวลาจะติดต่อกับใคร เขาจะต้องจดจ่ออยู่กับการที่จะต้องพิสูจน์ตัวเองหรือทำให้ตัวเองน่าสนใจมากพอ บางครั้งก็มองโลกในแง่ร้ายว่าทุกอย่างจะออกมาแย่ จะไม่มีใครอยากคุยด้วย

แต่คนที่มั่นใจในตัวเองเขาเชื่อไว้ก่อนว่าคนอื่นๆ จะยอมรับและตอบสนองเขาในทางที่ดี แม้ในความเป็นจริง การเข้าสังคมเป็นสิ่งที่ยากลำบากสำหรับพวกเขาเช่นกัน โดยเฉพาะการเข้าไปร่วมในระหว่างที่กิจกรรมนั้นได้ดำเนินไประยะหนึ่งแล้ว ดังนั้น ในขณะที่เหตุการณ์ยังไม่เกิด ขอให้คิดในแง่บวกไว้ก่อน 3. รู้จักสังเกต

ความสามารถทางสังคม คือ การมีทักษะในการรวบรวมข้อมูล สแกนดูรายละเอียดที่สำคัญของคู่สนทนาเพื่อใช้เป็นหัวข้อในการชวนคุย คุณควรเรียนรู้ที่จะปรับตัวเองให้เข้ากับคนอื่น มีสติและการรับรู้ว่าข้อมูลหรือหัวข้อแบบไหนที่เป็นสิ่งที่ผู้อื่นต้องการ หรือสนใจ

นักสนทนาที่ดีได้ให้ความคิดเห็นว่า คุณต้องพูดเชื่อมโยงกับสิ่งที่คนอื่นพูดหรือสนใจอยู่ คุณไม่จำเป็นต้องทำตัวน่าสนใจ คุณเพียงแค่ต้องเป็นฝ่ายสนใจคนอื่นบ้างนั่นเอง 4. เริ่มบทสนทนาอย่างชาญฉลาด

หลังจากการฟังและสังเกตการณ์การสนทนาของกลุ่มที่คุณต้องการจะมีส่วนร่วมด้วยแล้ว คุณต้องปรับบทสนทนาหรือกิจกรรมที่ผู้อื่นสามารถมีส่วนร่วมในการถามคำถาม หรือพูดถึงรายละเอียดในสิ่งที่เขาพร้อมจะพูด พร้อมที่จะให้ข้อมูล


ไอเดียหนึ่งในสร้างการสนทนา คือ การใช้คำถามปลายเปิด เพื่อให้ผู้อื่นสามารถมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นได้ด้วย ซึ่งพอหลังจากคุณได้เป็นฝ่ายเปิดประเด็นได้แล้ว และคนอื่นพร้อมที่จะต่อบทสนทนาของคุณ คุณเพียงแค่ถอยออกมาและเปิดโอกาสให้คนอื่นได้พูดบ้าง 5. เป็นมิตรกับความล้มเหลว

ทุกคนล้วนเคยถูกปฏิเสธ คนที่มีความมั่นใจในการเข้าสังคมนั้นจะไม่เก็บการถูกปฏิเสธนั้นมาใส่ใจ จำไว้ว่าการถูกปฏิเสธนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเพราะตัวคุณเอง แต่ควรจะคิดว่าการถูกปฏิเสธอาจเกิดจากปัจจัยอื่นหลายปัจจัย เช่น การเข้ากันไม่ได้ ความเข้าใจผิด หรืออีกฝ่ายกำลังอารมณ์ไม่ดี

คนที่มั่นใจในตัวเองจะมีความยืดหยุ่น นำ feedback ที่ได้รับมาสร้างสิ่งอื่นเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น เมื่อเผชิญกับความล้มเหลว หรือการถูกปฏิเสธ พวกเขาจะมีข้อเสนออื่นมาแลกเปลี่ยน เช่น การกล่าวว่า “อืมม งั้นเราเลื่อนนัดเป็นสัปดาห์หน้าแทนได้ไหม?” หรือย้ายไปกลุ่มอื่นๆ ที่เขาหวังว่าเขาจะไม่เป็นคนที่เข้าไปทำให้การสนทนาจบลง

และถ้าหากพวกเขาต้องปฏิเสธคำเชิญชวนของผู้อื่น เขาจะปฏิเสธในทางที่ดี และเสนอทางเลือกอื่นๆ เช่น “ฉันอยากจะพูดคุยกับคุณในภายหลัง” 6. จัดการกับอารมณ์ของคุณ

สถานการณ์ในสังคมมีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การแสดงออกทางคำพูดหรือไม่ใช้คำพูดมักมีความหมายเสมอ เช่น การแสดงออกทางสีหน้าและน้ำเสียง ซึ่งทำให้ต้องคิดก่อนที่จะตัดสินใจแสดงท่าทีออกไป โดยเฉพาะอารมณ์ในเชิงลบ เช่น ตอนกำลังโกรธ กลัว หรือวิตกกังวล ที่มักเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่เกิดความขัดแย้งหรือความไม่แน่นอน

เคล็ดลับคือ การเปลี่ยนความสนใจออกจากสิ่งที่ทำให้กังวลหรือเรื่องที่ทำให้โกรธ ไปสู่เรื่องด้านบวกของสถานการณ์นั้นแทน หรือสนใจเรื่องอื่นไปเลย 7. ลดความขัดแย้ง

ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง การรับมือกับการเผชิญหน้าเป็นทักษะทางสังคมที่สำคัญ แทนที่จะต่อสู้ คนที่มีความมั่นใจทางสังคมจะหยุดความขัดแย้งนั้น พวกเขาจะขอโทษ เจรจาต่อรอง หรือยื่นข้อเสนอ เพื่อให้เกิดความสงบ หรือบางครั้งอาจเปลี่ยนเรื่อง

การจัดการความขัดแย้งโดยไม่ให้มีการทะเลาะกันต้องมีการฟัง การสื่อสาร การมองในมุมมองของผู้อื่น การควบคุมอารมณ์ด้านลบ และการแก้ปัญหา แม้เพียงแค่อธิบายมุมมองของคุณด้วยเหตุผล ก็สามารถช่วยให้เกิดประโยชน์ขึ้นได้ 8. การหัวเราะ

การมีอารมณ์ขันเป็นทักษะทางสังคมที่มีค่าที่สุด มันเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วเมื่อเราถูกใจกับอะไร การสร้างอารมณ์ขันนั้นไม่มีสูตรตายตัว แต่ในช่วงเวลาที่มืดมนที่สุดของคุณ คุณควรพยายามที่จะมองให้เห็นในด้านสว่างของสถานการณ์นั้นให้ได้ และเปลี่ยนมันให้เป็นมุขตลกหรือเรื่องขำขัน


แล้วรับประกันได้เลยว่า ใครๆ ก็อยากจะเข้ามาคุยกับคุณ


นอกเหนือจากสิ่งเหล่านี้แล้ว สิ่งที่คุณต้องไม่หลงลืมคือการทำบุคลิกภาพตัวเองให้ดูดี ให้เกียรติทั้งตัวเอง คนอื่น และสถานที่ อย่าลืมว่าภาษาท่าทางนั้นมีอิทธิพลต่อคนเราที่จะตัดสินกันในเวลาไม่ถึง 8 วินาที ดังนั้น เมื่อฝึกเตรียมพร้อมเรื่องของใจได้แล้ว อย่าลืมดูแลบุคลิกภาพให้ดูดีและน่าคบหาด้วย

 

จากบทความเรื่อง Build Your Confidence โดย Hara Estroff Marano ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ https://www.psychologytoday.com/ แปลโดย ณิชารีย์ ปานช่วย และเรียบเรียงโดยพิชาวีร์ เมฆขยาย

bottom of page