top of page
self-esteem course cover blog page.jpg
  • พิชาวีร์ เมฆขยาย

ความขี้เหงาเป็นพันธุกรรมรึเปล่านะ


loneliness By Pichawee


เร็วๆ นี้มีงานวิจัยระยะยาวชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจ เกี่ยวกับการศึกษาพันธุกรรมว่าเกี่ยวข้องกับความขี้เหงา การแปลกแยกจากสังคม และโรคซึมเศร้าหรือไม่ ซึ่งศึกษากับคู่แฝดเพศเดียวกันจำนวนมากถึง 1,116 คู่ คำว่าการแปลกแยกจากสังคม หมายถึง ภาวะและพฤติกรรมที่คนคนหนึ่งขาดการเชื่อมต่อและมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ในขณะที่ความขี้เหงา คือ ‘ความรู้สึก’ ว่าไม่เชื่อมต่อ (ทางใจ) กับคนที่อยู่รอบข้าง ดังนั้น คนที่มีภาวะแปลกแยกจากสังคมอาจไม่ได้รู้สึกเหงา และคนที่รู้สึกว่าตัวเองเหงาก็อาจไม่ได้ตัดขาดจากสังคม พูดง่ายๆ คือ ยังพูดคุย ทำกิจกรรมกับคนอื่นๆ แต่ก็ยังรู้สึกโดดเดี่ยว ปรากฏว่า ความขี้เหงามีแนวโน้มบิดเบือนความเป็นจริงและสร้างภาพในแง่ร้าย ทำให้คนที่เหงากลับยิ่งจะเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าได้มาก ซึ่งคนที่อยู่ในภาวะเหงาจะแสดงอาการของโรคซึมเศร้ามากกว่าคนที่มีพฤติกรรมแปลกแยกจากสังคม เจ้าความขี้เหงานี่น่ากลัวกว่าที่คิด เพราะมันจะคอยบิดเบือน ใส่ร้ายป้ายสี ทำให้เรามองโลก รวมถึงมองคนรอบข้างในแง่ร้ายไปด้วย ทำให้คนขี้เหงากลับยิ่งแสดงพฤติกรรมร้ายๆ ไม่น่ารักออกมาใส่คนรอบข้าง ซึ่งจะยิ่งผลักให้พวกเขาออกห่างจากคนอื่นและมีความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยจะดีนัก แล้วการโดดเดี่ยวแปลกแยก และอาการซึมเศร้าก็จะมีมากขึ้น และตอนนี้แหละที่พันธุกรรมเข้ามามีบทบาท เพราะปฏิกิริยาที่เป็นลบเหล่านี้สามารถส่งต่อกันทางพันธุกรรมได้ หากใครมียีนคนขี้เหงา พวกเขาจะตอบสนองในทางแย่โดยอัตโนมัติ ซึ่งจะยิ่งเพิ่มภาวะแปลกแยกโดดเดี่ยวและภาวะซึมเศร้า แต่ไม่ว่าคุณจะมียีนขี้เหงาหรือไม่ แต่มนุษย์เรามีพลังที่จะควบคุมมันได้ เริ่มจากการรับรู้ที่ถูกต้องเรื่องความสัมพันธ์ (ตั้งสมมติฐานไว้ก่อนว่าคนรอบข้างใส่ใจคุณมากกว่าที่คุณรับรู้) ออกไปสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่นก่อน และคอยสังเกตพฤติกรรมบางอย่างจากตัวเราเองที่อาจจะแสดงออกแบบไม่เป็นมิตร โดยพยายามแสดงออกอย่างเป็นมิตรและเปิดใจมากขึ้นนั่นเอง ที่มา จากบทความเรื่อง Is There a Gene for Loneliness? : How we perceive others and respond to them may be hereditary โดย ดร. Guy Winch

bottom of page