- พิชาวีร์ เมฆขยาย
5 ต้นทุนที่ต้องมี ก่อนหันหลังให้ “งานประจำ” มาเป็น “นายตัวเอง”
คนมีแนวโน้มจะลาออกจากงานประจำมาเป็นนายตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ หลายคนที่รู้สึกเบื่องาน หรือกำลังรู้สึกฮึกเหิมในตอนที่เห็นคนอื่นๆ ออกมาเป็นนายตัวเองแล้วรุ่งและมีความสุขกับชีวิตมากขึ้น แต่ในความเป็นจริงมันไม่ได้สวยงามแบบนั้นเสมอไปหรอกค่ะ แวนเห็นกับตาว่าหลายคนลาออกมาพร้อมกับความหวังและความฝันเต็มที่ว่าอนาคตจะสดใส แต่ชีวิตมันกลับไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไป สิ่งหนึ่งที่บอกได้เลยว่าพวกเขา “พลาด” นั่นคือ “ขาดการเตรียมตัวที่ดี” อย่าลืมนะคะว่า การมองโลกในแง่ดีอย่างเดียว ไม่ช่วยให้คุณเอาตัวรอดจากโลกแห่งการแข่งขันนี้ไปได้ แต่การเตรียมตัวที่ดีต่างหากที่จะพาคุณให้รอดและรุ่ง จากประสบการณ์ส่วนตัวที่เคยกระโดดออกมาก่อน แวนอยากจะให้ข้อคิดเตือนใจ ให้คุณเตรียมตัวไว้ให้ดี ด้วย “5 ต้นทุน” ที่คุณต้องมี ต้องเตรียม และจำเป็นมากๆ ค่ะ 1) ทุนชีวิต
ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ชีวิตที่จำเป็นสำหรับการเริ่มต้นบทบาทใหม่ หากคุณมีมากพอ มันจะเป็นแต้มต่อให้คุณลุกวิ่งได้เร็ว ชุดความรู้และทักษะเดิมที่คุณได้มาเมื่อ 5-10 ปีก่อน เดาว่ามันคงล้าสมัยไปบ้างแล้ว นั่นหมายถึงคุณจำเป็นต้องเรียนรู้ตลอดเวลา และต้องหาวิธีเรียนรู้และเก็บประสบการณ์ให้เร็วที่สุด อย่าลืมเชียวว่าต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่าบทบาทใหม่ ธุรกิจที่จะเริ่ม จำเป็นต้องใช้ชุดความรู้ ทักษะ ประสบการณ์อะไรบ้าง ซึ่งแต่ละเรื่องต้องใช้เวลาพอควร หากคุณเริ่มช้าเกินไประวังจะไม่ทันใช้ 2) ทุนทรัพย์
เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ ที่คุณต้องคิดถึงเป็นลำดับแรกๆ การทำธุรกิจที่ไม่มีกระแสเงินสดนั้นเป็นเรื่องที่แทบเป็นไปไม่ได้ ไม่ว่าสิ่งที่คุณกำลังจะทำนั้นจะมีต้นทุนมากหรือน้อยยังไง แต่คุณจำเป็นต้องมีทุนสำรองไว้สำหรับหมุนในธุรกิจที่ต้องลงทุนหลายด้าน และเผื่อไว้กรณีที่รายได้ไม่เป็นไปตามแผน คุณจะได้ไม่วิตกกังวลมากเกินไป หากตัดความกังวลเรื่องทุนทรัพย์ที่ต้องมีสำรอง คุณจะได้มีพลังและทุ่มเวลาไปโฟกัสกับการขับเคลื่อนธุรกิจของคุณได้เต็มที่ค่ะ
3) ทุนเกษียณ
สิ่งที่จะซื้อความมั่นคงให้กับอาชีพนายตัวเองได้คือการบริหารกองทุนเกษียณของตัวเองให้ได้ หากการเป็นพนักงานคือการมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฉันใด การเป็นนายตัวเองก็ต้องมีกองทุนเกษียณของตัวเองฉันนั้น บริษัทบางแห่งจะมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) ไว้ให้พนักงาน ซึ่งเป็นเงินก้อนที่ได้รับการสมทบจากนายจ้างและจากเงินเดือนของคุณทุกเดือน เมื่อคุณลาออกคุณต้องตัดสินใจว่าจะจัดการเงินก้อนนี้อย่างไร ถ้าคุณไม่มีการวางแผนที่ดี เงินที่ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่คุณอุตส่าห์เก็บสะสมมานานปีตอนเป็นพนักงานอาจหมดเกลี้ยงหายไปได้ในเวลาไม่นาน ดังนั้นเงินก้อนจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จะได้ คุณควรต้องรีบวางแผนจัดการให้ดี หากคงเงินไว้ที่เดิม คุณจะต้องเสียค่ารักษาสภาพสมาชิกคงเงิน 500 บาท หากนำเงินออกเป็นก้อนก็ต้องเจอภาระภาษี การผลักเข้ากองทุน RMF จะช่วยสร้างโอกาสของผลตอบแทนอย่างต่อเนื่องเพื่อการเกษียณ อย่างเช่น การย้าย PVD มา RMF ของ TMBAM โดยคุณจะได้รับสิทธิประโยชน์มากขึ้นสำหรับการย้าย PVD มา RMF
กองทุน RMF ของ TMBAM มีให้เลือกมาถึง 18 กองทุน ตามระดับความเสี่ยงที่คุณรับได้ ถือตามเงื่อนไขของ RMF ก็ไม่ต้องเสียภาษีอะไรเลย แถมยังได้รับโปรโมชั่น RMF สำหรับคนที่โอนย้ายเข้ามาด้วย การโอนย้ายนี้จะเป็นการส่งเสริมให้บรรดาผู้ที่เป็นนายตัวเอง หรือคนที่ต้องการเพิ่มเงินออมเพื่อวัยเกษียณได้ประโยชน์มากขึ้นตามไปด้วย เข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ https://www.tmbam.com/home/th/provident-fund.php หรือโทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 1725 อย่าลืมว่า เพียงแค่คุณมีการวางแผนที่ดี คุณก็ไม่จำเป็นต้องหวาดวิตกกับความไม่แน่นอน
4) ทุนมนุษย์
ถึงแม้จะเป็นคำพูดที่ว่า “เป็นนายตัวเอง” แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณจะ one-man show เก่งอยู่คนเดียว และทำงานอยู่คนเดียว พอถึงจุดจุดหนึ่งแล้วคุณทำไม่ได้แน่ หากคุณหวังเติบโตมากขึ้นและรวดเร็ว คุณจำเป็นต้องมี connection หรือเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจที่จะคอยช่วยกันผลักดันส่งเสริมให้คุณประสบความสำเร็จได้แบบมี Leverage ฝึกพัฒนาทักษะการสร้างความสัมพันธ์เข้าไว้ ยิ่งเป็นนายตัวเองคุณก็ยิ่งจำเป็นต้องใช้ เพื่อสร้างพันธมิตรดีๆ ให้กับธุรกิจของคุณ 5) ทุนสุขภาพ
ทั้งหมดที่พูดมาจะไม่ทำให้กิจการของคุณเติบโตได้ ถ้าพื้นฐานที่เป็นสุขภาพกายและใจของคุณไม่เต็มร้อย อย่าลืมจัดตารางสำหรับดูแลสุขภาพให้ดี อย่างการออกกำลังกาย การนอนหลับที่เต็มอิ่ม และการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ รวมทั้งการดูแลจิตใจไม่ให้โหมงานจนเครียดเกินไป ทีนี้เมื่อร่างกายและจิตใจของคุณเข้มแข็งรับประกันได้ว่า สมองคุณจะแล่นพร้อมกับพลังงานในตัวที่พร้อมสำหรับการขับเคลื่อนกิจการของคุณได้เต็มที่ ทั้งหมดนี้ก็คือต้นทุนทั้ง 5 ที่คุณต้องเช็คตัวเอง เตรียมไว้ให้พร้อม ก่อนกระโดดออกมาทำตามฝัน จำไว้ว่า ในยุคสมัยนี้และต่อไปภาคหน้า ไม่ว่าจะเป็นพนักงานหรือนายตัวเองก็มีความเสี่ยงต่ออาชีพเท่าๆ กัน ขอเพียงไม่ประมาท มีการเตรียมตัวที่ดีด้วยต้นทุนทั้ง 5 และเรียนรู้พัฒนาอย่างต่อเนื่องก็เท่ากับคุณได้บริหารความเสี่ยงนั้นแล้ว
Comments